วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หน่วยของภาษา
        หน่วยในภาษา หมายถึง ส่วนประกอบในภาษา อันได้แก่ เสียง คำ ประโยค ซึ่งผู้ใช้สามารถนำมาประกอบกันให้มากขึ้นได้ไปได้อีกเป็นจำนวนมาก  เช่น 

        หน่วยเสียง เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดประกอบด้วย เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ โดยหน่วยเสียงสระในภาษาไทยมี 21 หน่วยเสียง 
        เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง แบ่งเป็นสระสั้น 9 เสียง สระยาว 9 เสียง และสระประสม 3 เสียงเท่านั้น 
        ไม่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาวเนื่องจากการออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวไม่มีนัยสำคัญ กล่าวคือ ไม่ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน 
        หน่วยเสียงพยัญชนะไทย มี 21 เสียง แต่มีรูป 44 รูป เสียงพยัญชนะที่ปรากฏมีทั้งพยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะควบกล้ำ 
        แต่ส่วนใหญ่จะใช้พยัญชนะเดี่ยวขึ้นต้นคำ หน่วยเสียงวรรณยุกต์ของไทย มีทั้งหมด 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา 
        มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง 4 รูปเท่านั้น คือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา 
        โดยเครื่องหมายวรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้นๆ ตรงตัวเสมอไป เพราะต้องเปลี่ยนแปรไปตามกลุ่มของพยัญชนะว่าเป็น อักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำ 

        คำ คือ หน่วยที่เล็กที่สุดที่มีความหมายในภาษา การนำเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และความหมาย  มาประสมกันเราสามารถสร้างคำให้มีมากขึ้น และนำคำมาประสมกันเกิดเป็นคำใหม่ๆ ได้จำนวนมาก เช่น  กราบกราน การงาน พ่อเลี้ยง แม่บ้าน  

        วลี คือ การนำคำมาเรียบเรียงเป็นกลุ่มคำหรือวลี เช่น ทำงานรวดเร็ว นานาทัศนะ

        ประโยค คือ การนำคำหรือกลุ่มคำ มาเรียบเรียงให้มีองค์ประกอบครบตามลักษณะของประโยคในภาษาไทย จะได้ประโยคจำนวนมาก
        และภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ ถ้าเรียงคำสลับที่กัน จะได้ประโยคใหม่ มีความหมายใหม่กันโดยไม่ต้องเพิ่มคำขึ้นมาใหม่ เช่น คำ 4 คำนี้ “ ใคร  ให้  ไป  หา ” สามารถเรียงเป็นประโยคได้ถึง 16 ประโยค

        นอกจากนี้ประโยคเพียงประโยคเดียวง่ายๆ เราสามารถขยายประโยคให้ยาวออกไป ได้อีก โดยการขยายประโยคบ้าง รวมประโยคบ้าง ซ้อนประโยคบ้าง 
        เช่น พ่อเลี้ยงของฉันทำงานเสร็จอย่างรวดเร็ว แล้วรีบกลับมาให้แม่บ้านทำอาหารให้รับประทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น